วันอาทิตย์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2555

ขั้นตอนการเปิดตาดอกมะนาวนอกฤดู


- ขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบในการฉีดเปิดตาดอกกระตุ้นทางใบ โดยสูตรที่ต้องเตรียมมีดังนี้
                - น้ำเปล่า                                                               200 ลิตร
                - ซิลิโคเทรซ                                                         50 กรัม
                - ไวตาไลเซอร์                                                     50 กรัม
                - ไคโตซาน MT                                                  50 ซีซี.
                - ฮอร์โมนไข่ (สูตรที่ให้ทำข้างต้น) 200 ซีซี.
                - น้ำมะพร้าวอ่อน                                               1,000 ซีซี.
                - น้ำตาลทราย                                                       500         กรัม
นำส่วนผสมต่าง ๆ เทลงในน้ำ 200 ลิตร แล้วคนให้ละลายจนหมด หากสมาชิกท่านใดไม่ได้ใช้ถัง 200 ลิตร อาจจะใช้ถัง 20 ลิตร หรือ 100 ลิตร ก็ให้ลดอัตราการผสมตามสัดส่วนลงมาครับ ในการผสมสูตรเปิดตาดอกฉีดพ่นให้เทส่วนผสมต่าง ๆ รวมกันในน้ำ 200 ลิตรแล้วคนให้ละลายและฉีดพ่นต่อไปขั้นตอนไม่มีอะไรยุ่งยากครับ    
- ขั้นตอนการเปิดตาดอก (ปฏิบัติ)
ขั้นตอนที่ 1 นำฮอร์โมนไข่ที่หมักไว้จนครบ 10-15 วัน มาราดรดที่บริเวณทรงพุ่มมะนาวแบบทั่วทรงพุ่ม โดยสเปรย์ให้กระจายจนเปียกชุ่มโชก โดยใช้ฮอร์โมนไข่ 2 ลิตร ผสมกับน้ำ 200 ลิตร ทำกัน 2-3 ครั้งในช่วงก่อนการเปิดตาดอกหรือในช่วงเปิดตาดอกก็ได้ ในกรณีที่ฉีดพ่นทางใบแล้วมะนาวสภาพต้นไม่เหลืองใบไม่ร่วงหรือยังไม่ยอมแตกตาดอกออกมาตามข้อตาใบ ให้ทำการราดรดฮอร์โมนไข่หลาย ๆ ครั้งเพื่อบังคับให้มะนาวออกดอกภายในเดือนตุลาคมนี้ให้  
ขั้นตอนที่ 2 ฉีดพ่นสูตรเปิดตาดอกทางใบข้างต้นอย่างน้อย 3 วัน/ครั้ง หรือทุกวัน เกษตรกรอาจจะเหนื่อยนิดหนึ่งที่ต้องฉีดพ่นสูตรเปิดตาดอกบ่อยครั้งหรือทุกวัน ซึ่งจำเป็นมากที่จะต้องยอมเหนื่อย เพราะหากพลาดการออกดอกเดือนนี้ก็จะต้องรอปีหน้า หรือมะนาวของเราอาจจะไปออกดอกพร้อม ๆ กับเพื่อนบ้านที่สามารถกักน้ำได้ในเดือนพฤศจิกายน ทำให้ผลผลิตมะนาวของเราเสี่ยงในช่วงการเก็บขายคืออาจจะได้ราคาถูกนั่นเอง
การฉีดพ่นสูตรเปิดตาดอกทางใบจะฉีดทั้งเดือนจะมากหรือน้อยกระทั่งมะนาวออกดอกนั้นขึ้นอยู่กับสภาพต้นมะนาว พื้นฐานการเตรียมต้นตั้งแต่เริ่มแรก (เดือนมิถุนายน-สิงหาคม) การใช้ปุ๋ยไนโตรเจนเพื่อเร่งความสมบูรณ์ของต้นจนไนโตรเจนตกค้างในดินเป็นจำนวนมาก สภาพฝนที่ตกมามีปริมาณมากน้อยแค่ไหน  หากมีปริมาณไนโตรเจนในดินมากฝนตกบ่อย ก็จะทำให้ต้องฉีดพ่นสูตรกระตุ้นตาดอกมากครั้งขึ้นเป็นเงาตามตัวครับ
การราดรดฮอร์โมนไข่และการฉีดสูตรเปิดตาดอกทางใบอาจจะทำให้สภาพต้นมะนาวมีอาการเหลืองใบหลุดร่วงไม่ต้องตกใจว่ามะนาวผิดปกติหรือรากเน่าโคนเน่าหรือเปล่า มะนาวเราจะตายหรือเปล่า เป็นเรื่องปกติของการเปิดตาดอกเพราะสูตรนี้จะทำให้ใบแก่เร็วมาก การราดรดฮอร์โมนไข่และฉีดพ่นสูตรเปิดตาดอกทางใบไม่จำเป็นต้องรอใบแก่แล้วค่อยเปิดนะครับให้เปิดกระทั่งใบอ่อนนั่นแหละครับเพราะหากรอเดี๋ยวจะไม่ทันการณ์
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม การฉีดพ่นสูตรเปิดตาดอกทางใบอาจจะทำให้เกิดโรคแคงเกอร์ได้ง่าย จึงแนะนำให้สมาชิกหมักบีเอส-พลายแก้วผสมร่วมกับสูตรเปิดตาดอกด้วย เพื่อป้องกันและกำจัดแคงเกอร์ที่ระบาดในช่วงหน้าฝนและการเปิดตาดอก โดยอาจจะทำการหมักและฉีดพ่นสัก 3-5 วันครั้ง ไม่ต้องหมักทุกครั้งที่ฉีดพ่นสูตรเปิดตาดอก
หากท่านเกษตรกรที่ปลูกมะนาวหรือผู้ที่สนใจและคิดที่จะปลูก ต้องการปรึกษาปัญหาเรื่องมะนาวทั้งวิธีการปลูก การดูแล การบังคับให้มะนาวออกดอกนอกฤดูเพิ่มเติมโทรเข้ามาคุยกับผู้เขียนจะได้ข้อมูลที่ชัดเจนที่ โทร. 08-1646-0212 ยินดีให้คำแนะนำครับ
เขียนและรายงานโดย : คุณสามารถ บุญจรัส (นักวิชาการชมรมฯ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  www.thaigreenagro. com
วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ.2554 เสนอแนะติชม email : thaigreenagro@gmail.com
เดือนตุลาคมเริ่มมาถึง พื้นที่ในหลาย ๆ จังหวัดของประเทศไทยที่ใกล้กับลุ่มแม่น้ำสายต่าง ๆ ยังประสบกับภัยพิบัติน้ำท่วม หลายหน่วยงานเร่งให้การช่วยเหลือผู้เขียนก็ขอเอาใจช่วยให้ผ่านพ้นวิกฤติการณ์นี้ไปได้ด้วยดีครับ ปีนี้ (2554) ปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมามีจำนวนมากกว่าปีก่อน ๆ หลายเท่า สำหรับเกษตรกรที่ปลูกมะนาวและกำลังเริ่มเปิดตาดอกกันในเดือนตุลาคมจะประสบกับปัญหาเปิดตาดอกแล้วมะนาวแตกใบอ่อนทำให้พลาดการออกดอกในเดือนที่ต้องการ สมาชิกของชมรมฯ หลาย ๆ ท่านที่ติดตามบทความเกี่ยวกับการบังคับให้มะนาวออกดอกนอกฤดูอาจจะเริ่มฉีดพ่นเปิดตาดอกกันตั้งแต่ต้นเดือนกันยายนหวังว่าสมาชิกหลาย ๆ ท่านมะนาวคงเริ่มออกดอกกันบ้างแล้วนะครับ
มาทบทวนขั้นตอนการเปิดตาดอกมะนาวสำหรับสมาชิกใหม่ที่ปลูกมะนาวและกำลังจะบังคับให้มะนาวออกดอกในเดือนตุลาคมนี้แบบพอสรุป
- ขั้นตอนการเตรียมฮอร์โมนไข่ ใช้ไข่ไก่ 5 กิโลกรัม, กากน้ำตาล 5 ลิตร, ลูกแป้งข้าวหมาก 1 ลูก, บีทาเก้น 1 ขวด เมื่อได้วัตถุดิบครบแล้วขั้นตอนแรกนำไข่ไก่มาตอกใส่ถังหมัก แยกเปลือกไข่ออก เมื่อตอกไข่จนครบ 5 กิโลกรัมแล้ว ให้นำเปลือกที่เราแยกไว้ไปโขลกหรือบดให้ละเอียดเทใส่รวมกับไข่ที่เราตอกใส่ไว้ในถัง จากนั้นใส่กากน้ำตาลลงไป 5 ลิตร อย่าเพิ่งคน บดลูกแป้งข้าวหมากให้ละเอียดเทใส่แล้วตามด้วยบีทาเก้น 1 ขวด จากนั้นคนให้เข้ากัน แล้วปิดปากถังโดยใช้ถุงพลาสติกคลุมแล้วมัดปากด้วยยางในจักรยานยนต์ ใช้ไม้แหลมเจาะรูปที่ถุงพลาสติกหลาย ๆ รูเพื่อให้ก๊าซที่เกิดจากการย่อยของจุลินทรีย์ผ่านออกมา ห้ามปิดปากถังจนสนิทไม่มีอากาศเข้าออกโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้ถังหมักบวมและระเบิดได้ครับ เมื่อทำตามขั้นตอนต่าง ๆ เสร็จเรียบร้อยแล้วคราวนี้ต่อไปก็แค่ต้องเปิดถังหมักคนทุกวัน ทำอย่างนี้ไปประมาณ 10-15 วันฮอร์โมนไข่ของเราก็พร้อมที่จะนำไปสู่การใช้เปิดตาดอกแล้วละครับ

เรียนรู้ “ซีเอ็นเรโช” ( คาร์บอน : ไนโตรเจน , C : N ratio ) เพื่อกำหนดการออกดอกติดผลของพืช

มี สมาชิกของชมรมเกษตรปลอดสารพิษหลาย ๆ ท่านมีข้อสงสัยและสอบถามมากับทางผู้เขียนในเรื่องของการเปิดตาดอก การเร่งตาใบ ซึ่งผู้เขียนได้ตอบคำถามเหล่านั้นในเรื่องของ “ซีเอ็นเรโช” ซึ่งหลาย ๆ ท่านไม่เข้าใจว่าซีเอ็นเรโชคืออะไร วันนี้ผู้เขียนจึงขออธิบายให้กับสมาชิกรวมถึงเกษตรกรที่เข้ามาแวะเวียน เยี่ยมเยียนเว็บไซต์ของชมรมฯ ให้มีความเข้าใจในเรื่อง “ซีเอ็นเรโช” อย่างง่าย และนำไปปฏิบัติกับสวนของตัวเอง นำไปบังคับดอกและใบ รวมไปถึงการใช้ปุ๋ยอย่างถูกวิธี เพื่อให้ง่ายในการบังคับให้ติดดอกออกผล หรืออาจจะรวมไปถึงการบังคับผลผลิตออกนอกฤดูโดยไม่ต้องใช้สารที่หยุดกระบวน การไนโตรเจนเพื่อประโยชน์ในเรื่องของต้นทุนการผลิต และสภาพต้นของพืชที่ตนเองปลูกครับ

ความหมายของซีเอ็นเรโช C = ซี  ย่อมาจากคาร์บอน (Carbon), N = เอ็น ย่อมาจากไนโตรเจน (Nitrogen) และ ratio = เรโช หมายถึง สัดส่วน รวมแล้ว คือ สัดส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจน  ถ้าตัวเลขอยู่ใกล้กัน  เรียกว่า ซีเอ็นเรโชแคบ  ถ้าตัวเลขอยู่ห่างกันหรืออยู่ต่างกันมากกว่า  เรียกว่า  ซีเอ็นเรโชกว้าง เช่น 15: 1 คือคาร์บอน  15 ส่วน ต่อ ไนโตรเจน 1 ส่วน ซี หรือคาร์บอนได้มาจากค่าวิเคราะห์คาร์โบฮัยเดรทในพืช  ซึ่งก็คือน้ำตาลและแป้งทั้งที่พืชสร้างขึ้นหรือได้รับจากการฉีดพ่นก็ตาม แต่มีอยู่ในต้นพืชแล้ว เอ็น หรือไนโตรเจน ได้มาจากการวิเคราะห์หาไนโตรเจนรวมในพืช ไม่ว่าจะได้จากการดูดขึ้นมาจากดินหรือการฉีดพ่นให้ทางใบก็ตาม
ผลที่พืชจะได้รับและแสดงออก ซีเอ็นเรโชแคบ คือเมื่อตัวเลขของคาร์บอนและไนโตรเจนอยู่ห่างกันไม่มาก  ซึ่งสามารถทำให้เกิดสภาพเช่นนี้ได้โดยการใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนโดยไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยเคมี  หรือฉีดพ่นทางใบที่มีปุ๋ยไนโตรเจนละลายอยู่  ปกติพืชจะได้รับไนโตรเจนที่ละลายน้ำได้ง่ายและรวดเร็วกว่าปุ๋ยอื่น ๆ ทั้งที่อยู่ในรูปของไนโตรเจน,  แอมโมเนีย,  ยูเรียหรือที่ละลายน้ำอยู่ในรูปอื่นๆ ก็ตาม  แล้วทำให้ค่าไนโตรเจนเพิ่มขึ้นทันที  ใน ขณะที่คาร์บอนหรือคาร์โบฮัยเดรทในต้นพืชเท่าเดิม หรืออาจถูกใช้ไปบ้างเพื่อเป็นพลังงานในการดึงปุ๋ยเข้าสู่รากพืชมีผลให้ค่าซี เอ็นเรโชแคบอย่างรวดเร็ว ลักษณะดังกล่าวมีผลทำให้พืชเกิดการเจริญทางใบคือแตกยอดและใบอ่อนง่าย  ทำให้ดอกออกยาก ทำให้คุณภาพผลผลิตใกล้แก่ต่ำลง  ถ้า พืชยังไม่เริ่มขบวนการแก่ก็จะทำให้แก่ช้าออกไปซึ่งการแก่ช้าอาจจะเป็นผลดี สำหรับพืชผลไม้ที่รอราคา แต่เป็นผลเสียสำหรับพืชที่ต้องการขนาดของผล หากแก่ช้าผลก็ใหญ่เกินกว่าขนาดที่ตลาดต้องการ ซึ่งหากซีเอ็นเรโชแคบอย่างต่อเนื่องแม้แต่ใบก็ยังแก่ช้าออกไปด้วย
ซีเอ็นเรโชกว้าง  คือเมื่อตัวเลขของคาร์บอนและไนโตรเจนอยู่ห่างกันกว่า  ซึ่งการทำให้เกิดสภาพเช่นนี้กับพืชที่มีใบรุ่นใหม่สมบูรณ์และมากพอแล้ว  โดยการหยุดให้ปุ๋ยไนโตรเจนทุกชนิดทั้งทางดินและทางใบ  พืชก็ยังจะสังเคราะห์แสงสะสมอาหารมากขึ้นตามลำดับ  โดยสร้างเด็กซ์โทรส (หรือกลูโคส) จากนั้นเปลี่ยนเป็นซูโครส (น้ำตาลทราย) ซึ่งเคลื่อนย้ายได้ง่ายกว่า  แล้วเปลี่ยนเป็นแป้งหรือคาร์โบฮัยเดรทอื่นสะสมอยู่ในกิ่ง, ก้าน, ลำต้น, รากหรือหัว  ในธรรมชาติเมื่อฝนหยุดตก  งดการให้น้ำ  น้ำในดินจะลดน้อยลงเรื่อย ๆ จนละลายไนโตรเจนออกมาได้น้อย  และในที่สุดแทบจะไม่ได้ดูดไนโตรเจนเข้าลำต้นเลย  แต่พืชยังคงสังเคราะห์แสงที่ใบทุกวันเมื่อมีแสงแดด  ซีเอ็นเรโชจึงกว้างขึ้นเป็นลำดับ  ใบพืชจึงมีบทบาทที่สำคัญมากเพราะทำหน้าที่เป็นโรงงานผลิตอาหารสะสมให้ต้นพืช ผลของการมีอาหารสะสมมาก  ซีเอ็นเรโชกว้างทำให้พืชออกดอกได้ง่าย  ผลอ่อนร่วงน้อย  โตเร็ว  ผลแก่มีคุณภาพดี  เมื่อผลแก่แล้วก็สุกได้ง่าย (จากเอกสารแจกสมาชิก ของชมรมเกษตรปลอดสารพิษ)
จาก ที่กล่าวข้างต้น สมาชิกของชมรมฯ หลาย ๆ ท่านคงจะเริ่มเข้าใจความหมายของ “ซีเอ็นเรโช” กันบ้างแล้วนะครับ ซึ่งผู้เขียนได้เขียนเรื่องการบังคับมะนาวให้ออกดอกในช่วงเดือน กันยายน-ตุลาคม เพื่อให้ผลผลิตออกมาในช่วงหน้าแล้ง ซึ่งบทความดังกล่าวที่เขียน ๆ ไว้ก็อิงจาก “ซีเอ็นเรโช” นี่แหละครับ ซึ่งระบบดังกล่าวนี้ไม่ได้ใช้เฉพาะมะนาวนะครับ แต่รวมถึงพืชทุกชนิดที่ต้องการให้ออกดอก การบังคับดอกโดยไม่ให้พืชอดน้ำ บังคับกันที่ระบบ “ซีเอ็นเรโช” จะทำให้พืชที่เราปลูกไม่โทรมเมื่อมีดอกออกผลดกมาก การให้น้ำอย่างสม่ำเสมอจะทำให้พืชมีการเจริญเติบโตดี ดอกและผลที่ออกมาไม่หลุดร่วงง่ายเพราะปริมาณไนโตรเจนที่มากับน้ำฝนและ ไนโตรเจนในดินที่ตกค้างเมื่อทำละลายกับน้ำในช่วงที่ฝนตกหนัก
หาก สมาชิกหรือเกษตรกรท่านใดมีปัญหาสงสัยในเรื่องของ “ซีเอ็นเรโช” และการบังคับการแตกใบ แตกดอกของพืชผักไม้ผลทุกชนิดก็สามารถสอบถามมาที่ผู้เขียนโดยตรงได้ที่โทร. 08-1646-0212 ยินดีให้คำแนะนำสำหรับสมาชิกหรือเกษตรกรทุกท่านครับ
เขียนและรายงานโดย นายสามารถ บุญจรัส (นักวิชาการ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 เสนอแนะติชม email : thaigreenagro@gmail.com